วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

กฎของมัวร์

กฎของมัวร์ (Moore's Law)



                  กฎของมัวร์ หรือ Moore’s Law คือกฏที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว โดยมีความว่าจํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆสองปี ซึ่งกฎนี้ได้ถูกตัองชื่อตาม Gordon E. Moore ผู้ก่อตั้ง Intel ซึ้งเขาได้อธิบายแนวโน้มนี้ไว้ในรายงานของเขาในปี 1965 และเมื่อเวลาผ่านไปจึงพบว่ากฎนี้นั้นแม่นยําอย่างประหลาด อาจเกิดเนื่องจากอุตสาหกรรม semiconductorได้นํากฎนี้ไปเป็นเป้าหมายในการวางแผน พัฒนาอุตสาหกรรมของตนก็เป็นได้

                 คําว่า "กฎของมัวร์" นั้นถูกเรียกโดยศาสตราจารย์ Caltech นามว่า Carver Mead ซึ่งกล่าวว่าจํานวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆหนึ่งปี ในช่วงปี 1965 นั่นก็เป็นจริงตามคําของมัวร์ แต่เชื่อว่าคงเป็นเช่นนี้ในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น ต่อมามัวร์จึงได้เปลี่ยนรูปกฎของเขามาเป็น เพิ่มขึ้นสองเท่าในทุกๆสองปี ในปี 1957

                เมื่อเวลาผ่านมากฎของมัวร์ก็ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงแค่การทํานาย จนต่อมาได้กลายมาเป็นเป้ าหมายของอุตสาหกรรม semiconductor ส่งผลให้เกิดการแข่งขันระหว่างกลุ่มคู่แข่ง ทําให้วิศวกรของแต่ละบริษัทต้องคอยคิดค้น พัฒนาความสามารถในการประมวลผลต่างๆ ด้วยเหตุนี้กฎของมัวร์จึงเปรียบเหมือน self-fulfilling prophecy นอกจากนั้นยังส่งผลต่อต้นทุนการผลิตอีกด้วยเนื่องจากเหตุผลที่ว่าต้องทําให้เกิดผลตามกฎของมัวร์ ดังนั้นจึงต้องใช้ทุนในการวิจัย พัฒนา การผลิต และการทดสอบสูงขึ้น ในทุกๆชิพที่มีการพัฒนาขึ้นมา ซึ่งจากเหตุผลข้อนี้นั้นทําให้เกิด กฎข้อที่สองของมัวร์ขึ้น โดยบอกว่า ต้นทุนการผลิตของ semiconductor นั้นเพิ่มขึ้นแบบ exponential เหมือนกัน

                สําหรับแนวโน้มในอนาคต Road map ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ทํานายไว้ว่า กฎของมัวร์นั้นจะยังเป็นจริงอยู่ในชิพอีกหลายๆรุ่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการคํานวณเวลาที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า นั้นอาจหมายถึงว่า ในอนาคตจํานวนทรานซิสเตอร์บนชิพอาจเพิ่มขึ้น 100 ท่าในเวลา 10 ปีก็เป็นได้ นอกจานั้นยังมีการวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับกฎของมัวร์ในอนาคตอีกด้วย อาทิเช่น การสร้างสถิติความเร็วใหม่ที 500 GHz จากนักวิจัยของ IBM โดยการใช้ silicon/germanium helium supercooled transistor และให้ทํางานที่อุณหภูมิตํ่ามากๆ การคิดค้นเทคนิคการพิมพ์วงจรโดยใช้ deep-ultraviolet ทําให้สามารถพิมพ์วงจรที่มีความกว้างแค่ 29.9 m ได้ส่งผลให้กฎของมัวร์ยังเป็นจริงต่อไป นักวิจัยจาก HP Labs สร้างmemristor ที่มีการทํางานคล้ายกับ CBRAM, RRAM โดยใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพสูงกว่า เพื่อนํามาใช้เป็นหน่วยความจําที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้ า นักพัฒนาจาก Tyndall National Institute ใน Cork, Ireland ประกาศการค้นพบ junctionless transistor ซึ่งมีขนาดเพียงแค่10 nm โดยสามารถผลิตโดยเทคโนยีที่มีอยู่ได้ นักคาดการณ์หลายๆคนอาทิเช่น Ray Kurzweil, Bruce Sterling และ Vernor Vinge เชื่อว่าการพัฒนาแบบ exponential ตามกฎของมัวร์นั้นสุดท้ายจะนําไปสู่technological singularity (เทคโนโลยีทุกๆอย่างพัฒนาไปพร้อมๆกัน)


              อย่างไรก็ตาม กฎของมัวร์นั้นก็ยังมีข้อจํากัดอยู่เช่นกัน เช่นเรื่องของจํานวนทรานซิสเตอร์กับความสามารถในการประมวลผล การเพิ่มขึ้นของทรานซิสเตอร์ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อความแรงของCPU แต่นอกเหนือจากนั้นยังมีปัญหาเกี่ยวกับคอขวด ทําให้เกิดการพัฒนาวิธีการจัดการข้อมูลแบบparallelism ซึ่งอาศัยกฎของมัวร์ในการช่วยออกแบบ

เพลง





เพลง เหนื่อยไหมหัวใจ 
   
เหตุผลที่ชอบเพลงนี้ >>>

 -  เป็นเพลงที่นำเสนอถึงความยึดติดและอาลัยกับรักที่ผ่านพ้นไปของคนหนึ่งคน อาจจะด้วยหลายๆสิ่งที่ทำให้ต้องเลิกลาจนทำให้ต้องไกลจากกัน แต่ถึงยังไงระยะทางก็ไม่อาจปิดกั้นความรักและความเป็นห่วงที่ยังคงอยู่แม้ว่าอยากจะลืมมันแค่ไหนก็ตามก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงและเป็นห่วง ภาพเก่ายังคงเป็นเงาตามตัว ได้แต่คิดเป็นห่วงและอยากจะรู้ว่าอีกคนเป็นเช่นไร มีใครดูแลไหมและเป็นสุขใจอยู่หรือเปล่า 

เพลง เหนื่อยไหมหัวใจ
- เป็นเพลงที่เศร้ากินใจ และ จะสอนคนในความรัก ด้วย ว่า ยังคิดถึงเรื่องเก่า ที่ม่ลืมเรื่องในอดีต
ว่า ยังไง มันคืออดีต ม่ใช่เรื่องจริง เราควรหยุดคิดเรื่องในอดีต เราควรทำวันพรุ่งนี้ หรือ อนาคตให้ดีมี่สุด
วันข้างหน้าก็จะดีเอง

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารข้อมูล


             Google ล่ม 5 นาที คาดสูญเงิน 5.45 แสนเหรียญสหรัฐฯ



เว็บไซต์ด้านไอที thumbsup.in.th ได้นำเสนอบทความอ้างอิงจากสำนักข่าว VentureBeat รายงานวิกฤติเครือข่ายล่มที่เกิดขึ้นกับ Google ว่ากินเวลา 5 นาที โดยทีมงาน VentureBeat และผู้ใช้งานทั่วไปที่โพสต์ข้อความรายงานบน Twitter วันที่ 16
สิงหาคมตั้งแต่ช่วงเวลา 3:50 p.m. ถึง 3:55 p.m. (Pacific time) หรือตรงกับเวลาไทยตอน 05.50-05.55 น. ของวันที่ 17 สิงหาคม 2556  ด้วยปริมาณการใช้งานมหาศาลทำให้เสิร์ชเอนจิ นยักษ์ใหญ่ระดับโลก “Google” ไม่สามารถใช้งานได้นานนับ 5 นาที เบื้องต้น สื่ออเมริกันคาดว่าการ “ล่ม 5 นาที” ของ Google อาจทำให้กูเกิลสูญรายได้มากกว่า 545,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยกว่า 16 ล้านบาท    สำนักข่าว VentureBeat รายงานวิกฤติเครือข่ายล่มที่เกิดขึ้นกับ Google ว่ากินเวลา 5 นาที โดยทีมงาน VentureBeat และผู้ใช้งานทั่วไปที่โพสต์ข้อความรายงานบน Twitter วันที่ 16 สิงหาคมตั้งแต่ช่วงเวลา 3:50 p.m. ถึง 3:55 p.m. (Pacific time) หรือตรงกับเวลาไทยตอน 05.50-05.55 น. ของวันที่ 17 สิงหาคม 2556
รายงานระบุว่า เหตุ Google ล่มครั้งนี้มีผลกระทบต่อทุกบริการของ Google ทั้งหน้าเว็บไซต์หลัก Google.com, บริการ YouTube, บริการ Google Drive และบริการเมล Gmail และจากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญด้านเสิร์ชเอนจิ้นอย่าง Danny Sullivan พบว่าวิกฤติเครือข่ายครั้งนี้ถือเป็นปัญหาครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยหากพิจารณาช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา แม้บริการ Gmail และ Google Drive จะเคยประสบปัญหาระบบล่มมาก่อน แต่หน้า Google.com นั้นยังสามารถใช้การได้ดีและไม่เคยมีปัญหาใดๆ     จุดนี้ VentureBeat เลยนำรายได้ของ Google ช่วงไตรมาส 2 ของปี 2013 มาคำนวณเพิ่มเติม จนพบว่าหากหารรายได้ 1.41 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ออกมาเป็นนาที จะสรุปได้ว่ายักษ์ใหญ่ Google เป็นบริษัทที่ทำรายได้มากกว่า 108,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อนาทีหรือประมาณ 3.4 ล้านบาท ซึ่งการที่ระบบล่มไปจนชาวออนไลน์ไม่สามารถคลิกโฆษณาบนบริการของ Google ได้นั้น อาจตีความเป็นจำนวนเงินได้ว่า Google มีโอกาสสูญเงินสูงกว่า 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ

เพื่อให้เห็นภาพ VentureBeat ยังเทียบว่าเงิน 545,000 เหรียญสหรัฐที่อาจจะหายไปในช่วงที่ Google ระบบล่ม 5 นาที นั้นสามารถซื้อรถหรู Lamborghinis ได้ถึง 2 คัน หรือเทียบเท่ารถไฟฟ้ายี่ห้อ Tesla ของซีอีโอ Larry Page จำนวน 5 คัน หรือสามารถซื้อแว่น Google Glass จำนวนมากกว่า 300 ชิ้น

ทั้งหมดนี้ถือเป็นสถิติน่ารู้ที่เชื่อว่า Google จะหาทางป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติการณ์เช่นนี้อีกในอนาคต เช่นเดียวกับบรรดาธุรกิจออนไลน์ที่ต้องระมัดระวังทุกลมหายใจจริงๆ

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ

บิตตรวจสอบ
(party bit)
เลขฐานสองที่ใช้ในในคอมพิวเตอรืมีอัตราความผิดพลาดต่ำ เพราะมีค่าความเป็นไปได้เพียง 0 หรือ 1 เท่านั้น แต่ก็อาจเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่วยความจำ เพราะฉะนั้น บิตตรวจสอบ หรือพาริตี้บิต จึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต จึงถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องขอลข้อมูลที่จะถูกจัดเก็บลงในคอมพิวเตอร์ 
     สำหรับบิตตรวจสอบ จะมีวิธีการตรวจสอบอยู่ 2 ธี
1. การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
2. การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity)
ตัวอย่าง         
               ASCLL-8                      Parity          


0100 0011                                             1 C

0101 0010                                             1 R

0100 0101                                             1 E

0100 0001                                              0 A

0100 1101                                              0 M


- C ตรงกับรหัสแอสกี้ 0100 0011 และเนื่องจากบิต 1 มีอยู่ 3บิต อยู่แล้ว(เป็นเลขคู๊๋) ดังนั้น บิตตรวจสวนทีเพิมเข้าไปก็เป็น 1 เมื่อรวมบิตตรวจสอบเข้าไปหนึงบิตก็จะเป็น 0100 00111
-R ตรงกับรหัสแอสกี้ 0101 0010 และเนื่องจากบิต 1 มีอยู่ 3บิต อยู่แล้ว(เป็นเลขคู๊๋) ดังนั้น บิตตรวจสวนทีเพิมเข้าไปก็เป็น 1 เมื่อรวมบิตตรวจสอบเข้าไปหนึงบิตก็จะเป็น 0101 00101
-Eตรงกับรหัสแอสกี้0100 0101และเนื่องจากบิต 1 มีอยู่ 3บิต อยู่แล้ว(เป็นเลขคู๊๋) ดังนั้น บิตตรวจสวนทีเพิมเข้าไปก็เป็น 1 เมื่อรวมบิตตรวจสอบเข้าไปหนึงบิตก็จะเป็น 0100 01011
-Aตรงกับรหัสแอสกี้0100 0001   และเนื่องจากบิต 0 มีอยู่ 2บิต อยู่แล้ว(เป็นเลขค๊๋) ดังนั้น บิตตรวจสวนที่เพิมเข้าไปก็เป็น 0 เมื่อรวมบิตตรวจสอบเข้าไปหนึงบิตก็จะเป็น 0100 00010 
-M ตรงกับรหัสแอสกี้0100 1101   และเนื่องจากบิต 0 มีอยู่ 4บิต อยู่แล้ว(เป็นเลขค๊๋) ดังนั้น บิตตรวจสวนที่เพิมเข้าไปก็เป็น 0 เมื่อรวมบิตตรวจสอบเข้าไปหนึงบิตก็จะเป็น 0100 11010


         




                      


ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์


                  ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์


                                                  ยุคที่หนึ่ง
                            



คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสูญญากาศ (พ.ศ. 2488-2501) ปี พ.ศ. 2486 วิศวกรสองคน คือ จอห์น มอชลี (John Mouchly) และ เจ เพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J.Presper Eckert) ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเครื่องแรกของโลก ชื่อว่า อินิแอค (Electronic Numerical Intergrator And Calculator : ENIAC)
ในปี พ.ศ. 2488 จอห์น วอน นอยแมน (John Von Neumann) ได้เสนอแนวคิดในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำ เพื่อใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมการทำงานหรือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานโดยเรียกชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาทำงาน หลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น
มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)




                                                     ยุคที่สอง

                                                               

                                                   
คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500-2507) นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการเบลแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์สำเร็0ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างคอมพิวเตอร์ เพราะทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูง และราคาถูก ได้มีการผลิตคอมพิวเตอร์เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
สำหรับประเทศไทยมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในยุคนี้ พ.ศ. 2507 โดยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนำเข้ามาใช้ในการศึกษา ในระยะเวลาเดียวกันสำนักงานสถิติแห่งชาติก็นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณสำมะโนประชากร นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทย

                                                  ยุคที่สาม




คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม (พ.ศ.2508-2512) ประมาณปี พ.ศ. 2508 ได้มีการพัฒนาสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และเกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า ไอซี การใช้ไอซีเป็นส่วนประกอบทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง จึงมีบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลง เรียกว่า "มินิคอมพิวเตอร์"


                                                      ยุคที่สี่


                                                 

คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ (พ.ศ.2513-2532) เทคโนโลยีทางด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิคส์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างวงจรรวมที่มีขนาดใหญ่มารวมในแผ่นซิลิกอน เรียกว่า วีแอลเอสไอ (Very Large Scale Intergrated circuit : VLSI) เป็นวงจรรวมที่รวมเอาทรานซิสเตอร์จำนวนล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor)
การใช้ VLSI เป็นวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงขึ้น เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องที่แพร่หลายและมีผู้ใช้งานกันทั่วโลก
การที่คอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูง เพราะ VLSI เพียงชิพเดียวสามารถสร้างเป็นหน่วยประมวลผลของเครื่องทั้งระบบหรือเป็นหน่วยความจำที่มีความจุสูงหรือเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ขณะเดียวกันพัฒนาของฮาร์ดดิสก์ก็มีขนาดเล็กลงแต่ราคาถูกลง เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงปาล์มทอป (palm top) โน็ตบุ๊ค (Notebook)



                                                    ยุคที่ห้า



                                             

คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย (พ.ศ.2533-ปัจจุบัน) เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว การแสดงผล การจัดการข้อมูล สามารถประมวลได้ครั้งละมาก ๆ จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน (multitasking) ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์การโดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า Local Area Network : LAN เมื่อเชื่อมหลายๆ กลุ่มขององค์การเข้าด้วยกันเกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เรียกว่า อินทราเน็ต และหากนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (internet)
ในยุคปัจจุบันจึงเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน ทำงานร่วมกัน ส่งเอกสารข้อความระหว่างกัน สามารถประมวลผลรูปภาพ เสียง และวิดีทัศน์ ไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงทำงานกับสื่อหลายชนิดที่เรียกว่าสื่อประสม (Multimedia)

เขียน cream คพธ 561 เลขที่ 41

รหัสแทนข้อมูล




รหัสแทนข้อมูล รหัส ASCII และ รหัส Unicode

  • ASCLL
เดิมการแทนรหัสฐานสองด้วยพยัญชนะในภาษาต่างๆเป็นการกำหนดกันเอง ขึ้นอยู่กับว่า ใครพัฒนาขึ้นมาทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดไม่สามารถส่งผ่านกันได้ เพราะใช้รหัสในเลขฐานสองไม่เหมือนกัน ดังนั้นเพื่อที่จะให้สื่อสารกันได้ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานของรหัสขึ้น สำหรับภาษาอังกฤษ เรียกว่า รหัสแอสกี้ (American Standard Code Interchange,ASCII)


รหัสที่เป็นมาตรฐาน คือ รหัส ASCII
American Standard Code For Information Interchange (ASCII) อ่านว่า แอส-กี้ เป็นรหัสที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANSI อ่านว่า แอน-ซาย) เรียกว่า ASCII Code ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รหัสนี้ได้มาจากรหัสขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standardization Organization: ISO) ขนาด 7 บิท ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ถึง 128 รหัส (ตั้งแต่ 000 0000 ถึง 111 1111) โดยกำหนดให้ 32 รหัสแรกเป็น 000 0000 ถึง 001 1111 ทำหน้าที่เป็นสั่งควบคุม เช่น รหัส 000 1010 แทนการเลื่อนบรรทัด (Line Feed)ในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และอีก 96รหัสถัดไป (32-95) ใช้แทนอักษรและสัญลักษณ์พิเศษอื่น รหัส ASCII ใช้วิธีการกำหนดการแทนรหัสเป็นเลขฐานสิบ ทำให้ง่ายต่อการจำและใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถเขียนมนรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย ดังนั้น ASCII Code จึงเป็นรหัสที่เขียนได้ 3 แบบ เช่นอักษร A สามารถแทนเป็นรหัสได้ดังนี้
สัญลักษณ์
เลขฐานสิบ
เลขฐานสอง
เลขฐานสิบหก
A
65
100 0001
4 1
รหัส ASCII สามารถใช้แทนข้อมูลอักขระและคำสั่งได้มากขึ้น และมีการขยายเป็นรหัสแบบ 8 บิท

ตารางรหัส ASCII แทนตัวอักษร































วิธีการอ่านค่าจากตารางแอสกี

1. ชี้ตรงตัวอักษรที่ต้องการแทนรหัส เช่น ก
2. อ่านค่ารหัสในตารางแนวตั้งตรงตำแหน่ง b7 b6 b5 และ b4 ค่าที่ได้ คือ 1010
3. อ่านค่ารหัสในตารางแนวนอนตรงตำแหน่ง b3 b2 b1 และ b0 ค่าที่ได้ คือ 0001
4. ดังนั้นรหัสแทนข้อมูลของตัวอักษร ก คือ 1010 0001


                 


  • Unicode


ตัวอย่าง Unicode

ยูนิโค๊ด คือ รหัสคอมพิวเตอร์ใช้แทนตัวอักขระ สามารถใช้แทน ตัวอักษร,ตัวเลข,สัญลักษณ์ต่างๆ ได้มากกว่ารหัสแบบเก่าอย่าง ASCII ซึ่งเก็บตัวอักษรได้สูงสุดเพียง 256 ตัว(รูปแบบ) โดยUnicdoe รุ่นปัจจุบันสามารถเก็บตัวอักษรได้ถึง 34,168 ตัวจากภาษาทั้งหมดทั่วโลก 24 ภาษา โดยไม่สนใจว่าเป็นแพลตฟอร์มใด ไม่ขึ้นกับโปรแกรมใด หรือภาษาใด unicode ได้ถูกนำไปใช้โดยผู้นำในอุตสาหกรรม
เช่น Apple, HP, IBM, Microsoft, Unix ฯลฯ และเป็นแนวทางอย่างเป็นทางการในการทำ ISO /IEC 10646 ดังนั้น Unicode จึงถือเป็นมาตรฐานในการกำหนดรหัส สำหรับทุกตัวอักษร ทุกอักขระ unicode ทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในหลายๆ ระบบ ข้ามแพลตฟอร์มไปมา หรือข้ามโปรแกรมได้อย่างสะดวก โดยไร้ข้อจำกัด Unicode ต่างจาก ASCII คือ ASCII เก็บ byte เดียว แต่Unicode เก็บ 2 byte ซึ่งข้อมูล 2 byte เก็บข้อมูลได้มากมายมหาศาล สามารถเก็บข้อมูลได้มากมายหลายภาษาในโลก
อย่างภาษาไทยก็อยู่ใน Unicode นี้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้นรหัสภาษาไทยเอาไปเปิดในภาษาจีน ก็ยังเป็นภาษาไทยอยู่ ไม่ออกมาเป็นภาษาจีน เพราะว่ามี code ตายตัวอยู่ว่า code นี้จองไว้สำหรับภาษาไทย แล้ว code ตรงช่วงนั้นเป็นภาษาจีน ตรงโน่นเป็นภาษาญี่ปุ่น จะไม่ใช้ที่ซ้ำกัน เป็นต้น
                 

            SUREEPORN   MUEANGSUK
แทนด้วยรหัส ASCII ดังนี้

0101 0011      S
0101 0101      U
0101 0010      R
0100 0101      E
0100 0101      E
0101 0000      P
0100 1111      O
0101 0010      R
0100 1110      N
0100 1101      M
0101 0101      U
0100 0101      E
0100 0001      A
0100 1110      N
0100 0111      G
0101 0011      S
0101 0101      U
0100 1011      K
***** ใช้พื้นที่ทั้งหมด 144 BIT 18 BYTE

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติบุคคลสำคัญทางคอมพิวเตอร์



Charles Babbage - ชาร์ลส์ แบบเบจ
          (พ.ศ. 2373)Charles Babbage ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ของอังกฤษได้สร้างเครื่องหาผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณและพิมพ์ตารางทางคณิตศาสตร์อย่างอัตโนมัติ แต่ก็ไม่สำเร็จตามแนวคิด ด้วยข้อจำกัดทางด้านวิศวกรรมในสมัยนั้น แต่ได้พัฒนาเครื่องมือหนึ่งเรียกว่า เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine)เครื่องนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ
1. ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ 
2. ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ 
3. ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูลและส่วนประมวลผล 
4. ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณด้วยเครื่องวิเคราะห์นี้มีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งคอมพิวเตอร์"


Lady Augusta Ada Byron - เลดี้ ออกัสต้า เอดา ไบรอน
          (พ.ศ. 2385) สุภาพสตรีชาวอังกฤษชื่อ Lady Augusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนขั้นตอนของคำสั่งวิธีใช้เครื่องนี้ให้ทำการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อนไว้ในหนังสือ Taylor's Scientific Memories จึงนับได้ว่า ออกุสต้า เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก และยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรูที่บรรจุชุดคำสั่งไว้สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำใหม่ได้ถ้าต้องการ นั่นคือหลักการทำงานวนซ้ำ หรือที่เรียกว่า Loop เครื่องมือคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้เลขฐานสอง (Binary Number)กับระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักของพีชคณิต

Herman Hollerith - เฮอร์มาน ฮอลเลอริธ
          (พ.ศ. 2423) Dr. Herman Hollerith นักสถิติชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติเครื่องแรก ซึ่งใช้กับบัตรเจาะรู ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐอเมริกา เรียกบัตรเจาะรูนี้ว่า บัตรฮอลเลอริท หรือบัตรไอบีเอ็ม เพราะผู้ผลิตคือบริษัท ไอบีเอ็ม

Alan Turing - แอลัน แมธิสัน ทัวริง
          (23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)) เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และวีรบุรุษสงคราม ชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ เขาได้สร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุอัลกอริทึมและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริงได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุกๆ รูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

Konrad Zuse 
          (ค.ศ.1941) เป็นครั้งแรกที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Compute
Z3 ของประเทศเยอรมนี ออกแบบใน ค.ศ. 1941 โดย Konrad Zuse เป็นคอมพิวเตอร์ไฟฟ้า-จักรกลอเนกประสงค์เครื่องแรก มันเป็นคอมพิวเตอร์ดิจิทัล ใช้เลขคณิตฐานสอง เป็นทัวริงบริบูรณ์ และโปรแกรมได้เต็มที่ โดยใช้เทปเจาะรู แต่ใช้รีเลย์ในการทำงานทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่ใช่คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์

Prof. Howard H.Aiken - โฮเวิร์ด เอช ไอเคน
          (ค.ศ.1937) โฮเวิร์ด เอช ไอเคน (Professor Howard H. Aiken) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) เป็นผู้ออกแบบและสร้างเครื่องคำนวณตามหลักการของแบบเบจได้สำเร็จ โดยนำเอาแนวคิดของ Jacquard และ Hollerith มาใช้ในการสร้างและได้รับการสนับสนุนจากวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1943 ในชื่อว่า Automatic Sequence Controlled Calculator (ASCC) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า MARK I Computer นับเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัติทั้งเครื่อง จัดเป็น Digital Computer และเป็นเครื่องที่ทำงานแบบ Electromechanical คือเป็นแบบ กึ่งไฟฟ้ากึ่งจักรกล

        
Dr.Jobn Vincent Atansoff , Clifford Berry - ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ , คลิฟฟอร์ด แบรี่ 
         (พ.ศ.2480-2481) ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์


John W. Mauchly & Persper Eckert
          (พ.ศ. 2486) ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 John W. Mauchly และ Persper Eckert จากหมาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ในการสร้างคอมพิวเตอร์ จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา โดยนำหลอดสุญยากาศ (Vacuum Tube) จำนวน 18,000 หลอด มาใช้ในการสร้าง ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้เครื่องมีความเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำในการคำนวณมากขึ้น

Dr.John von Neumann - จอห์น วอน นอยแมน
          (พ.ศ. 2492- พ.ศ. 2494) Dr.John Von Neumann ได้พบวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ ในหน่วยความจำของเครื่องเช่นเดียวกับการเก็บข้อมูลและต่อวงจรไฟฟ้า สำหรับการคำนวณ และการปฏิบัติการพื้นฐาน ไว้ให้เรียบร้อยภายในเครื่อง แล้วเรียกวงจรเหล่านี้ด้วยรหัสตัวเลขที่กำหนดไว้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นตามแนวความคิดนี้ได้แก่ EVAC (Electronic Ddiscreate Variable Automatic Computer) ซึ่งสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2492 และนำมาใช้งานจริงในปี พ.ศ. 2494 และในเวลาใกล้เคียงกัน ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดส์ ประเทศอังกฤษ ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายกับเครื่อง EVAC และให้ชื่อว่า EDSAC (Electronic Delay Strorage Automatic Caculator)


Dr.Ted Hoff - ดร. เท็ด ฮอฟฟ์
          (ค.ศ. 1971) Ted Hoff แห่งบริษัทอินเทล (Intel Corporation) ได้พัฒนาชิพที่มีขนาดเล็กมาก จึงได้ชื่อว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ชื่อรุ่นคือ Intel 4004 เป็นหน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่สามารถโปรแกรมได้ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพขนาดเล็กนี้เจึงถูกรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย


Steve Jobs & Steve Wazniak - สตีฟเวน จ๊อบส์
          สตีฟเวน พอล จ๊อบส์ (Steven Paul Jobs) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง (ร่วมกับ Steve Wozniak) บริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) นอกจากนี้เขาเป็นหัวหน้าบริษัท Pixar ซึ่งเป็นบริษัทสร้างภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว (เช่น ภาพยนตร์แอนนิเมชันเรื่อง Monster Ink, Shark Tale)
แต่สิ่งสำคัญต่อวงการคอมพิวเตอร์ที่เขาได้บุกเบิกคือการสร้างคอมพิวเตอร์แอบเปิ้ล 2 (Apple II) เขาได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการสั่งงานคอมพิวเตอร์ผ่านทางภาพ หรือ GUI (graphic user interface)ด้วยการใช้เมาส์ ซึ่งได้มีการใช้ครั้งแรกที่บริษัท Xerox PARC


Bill Gates - บิล เกตส์
          (ค.ศ. 1974) เป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ที่ครองตลาดผู้ใช้มากที่สุดคือบริษัทไมโครซอฟต์ และเป็นหนึ่งบุคคลที่รวยที่สุดในโลก ปัจจุบันเขาเป็นหัวหน้าบริษัท ซึ่งเขาได้ร่วมกับพอล อัลเลน (Paul Allen) ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์